ปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
Bachelor of Laws Program in Laws

ชื่อปริญญา

นิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตร์)
น.บ. (นิติศาสตร์)
Bachelor of Laws (Laws)
LL.B. (Laws)

หลักสูตรที่เปิดสอน

จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร 4 ปี ทั้งภาคปกติ และภาคสมทบ (วันอาทิตย์)

คุณลักษณะบัณฑิต
  1. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพกฎหมายตามมาตรฐานสากล
  2. มีความเพียรพยายาม ความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถคิดและตัดสินใจวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตัวเองอย่างมีเหตุผล และมีความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
  3. มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะต่อสังคม และประเทศชาติ
  4. มีความสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต

เรียนนิติศาสตร์ดีอย่างไร
  1. สังคมโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องรู้กฎหมายด้านต่าง ๆ เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก
  2. การไม่รู้กฎหมายจะตกเป็นผู้เสียเปรียบในทุกด้าน ไม่ว่าการประกอบอาชีพ และการใช้ชีวิตประจำวัน
  3. สังคมไทยมีผู้นิยมเรียนกฎหมายมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายเพื่อปกป้องตนเองและครอบครัว
  4. เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นว่าเป็นผู้มีความรู้ทางกฎหมาย เป็นผู้มีเกียรติ น่าเชื่อถือ
  5. สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายกว่าการเรียนสาขาวิชาชีพอื่น เช่น ตำรวจ อาจารย์ ที่ปรึกษา
  6. เรียนบริหารธุรกิจ ต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
  7. เรียนคอมพิวเตอร์ ต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่ถ้าเรียนนิติศาสตร์ท่านสามารถเป็นได้ทั้งนักธุรกิจ นักบริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ได้
เหตุใดควรเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  1. หลักสูตรทันสมัย รองรับการเป็นเนติบัณฑิต การสอบผู้พิพากษา อัยการ และทนายความ
  2. อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์มีประสบการณ์การทำงานทางด้านกฎหมายโดยตรง
  3. มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแล เอาใจใส่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด
  4. มีศูนย์การเรียนรู้ทางกฎหมายเพื่อฝึกการปฏิบัติจริง เช่น ศาลจำลอง ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย วิทยุชุมชนให้ความรู้ทางกฏหมาย
  5. มีการอำนวยความสะดวกในการติดต่อขอกู้ยืมเงินจากสำนักงานกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.)
  6. อาคารเรียน ใหม่ และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความทันสมัย หอพักใหม่ สะดวกและปลอดภัย
  7. มีการสอนเพิ่มพูนความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ฟรี
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
  1. งานราชการ
    1. ผู้พิพากษาในศาลต่าง ๆ เช่น ศาลอาญา ศาลแพ่ง ศาลปกครอง ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลแขวง
    2. พนักงานอัยการ (ทนายแผ่นดิน)
    3. ตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น ข้าราชการตำรวจ พนักงานสอบสวนประจำกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI )
    4. นิติกร หรือผู้ให้คำปรึกษาทางกฎหมายประจำหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือนิติกรอัยการ รวมถึงนิติกรในสำนักงานกรุงเทพมหานคร อบจ. เทศบาล อบต. นิติกรประจำศาล และ อื่นๆ เป็นต้น
  2. งานเอกชน
    1. ที่ปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงาน / บริษัท
    2. เจ้าของสำนักงานทนายความ
    3. ทนายความ ผู้ช่วยทนายความ
    4. นิติกรในหน่วยงาน / บริษัท